ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาง


กลับสู่ด้านบน
ขนาดยางมาตรฐานทั่วไป 2 ขนาด:
  • 1. 315/80R22.5
  • 2. 10.00R20
รายละเอียดเพิ่มเติมดูภาพด้านล่าง:

ตัวอย่างที่ 1: 315/80R22.5




  • A ระบุความกว้าง (มม.)
  • B ระบุอัตราส่วนแก้มยาง (มม.)
  • C ประเภทของยางเรเดียล
  • D เส้นผ่านศูนย์กลางกะทะล้อ (นิ้ว)
  • E 154/150M
  • 154: ดัชนีรับน้ำหนัก (ล้อเดี่ยว)
  • 150: ดัชนีรับน้ำหนัก (ล้อคู่)
  • สัญลักษณ์ความเร็ว
  • F อัตราชั้นโครงสร้าง
  • G ยางที่ไม่ต้องมียางใน
  • H สามารถแกะดอกได้
  • I ชื่อลายดอกยาง
  • J Belt Winding Direction
  • K ทิศทางการหมุนของยาง

ตารางด้านล่างแสดงอัตราความเร็วที่เหมาะสมพร้อมดัชนีโหลดที่สอดคล้องกัน

Example 2: 10.00R20




  • A ระบุความกว้าง (นิ้ว)
  • B ประเภทของยางเรเดียล
  • C เส้นผ่านศูนย์กลางกะทะล้อ (นิ้ว)
  • D 154/150M
  • 154: ดัชนีรับน้ำหนัก (ล้อเดี่ยว)
  • 150: ดัชนีรับน้ำหนัก (ล้อคู่)
  • M: สัญลักษณ์ความเร็ว
  • E อัตราชั้นโครงสร้าง
  • F ยางที่ไม่ต้องมียางใน
  • G สามารถแกะดอกได้
  • H ชื่อแบบยาง
  • I Belt Winding Direction
  • J ทิศทางการหมุนของยาง

ตารางด้านล่างแสดงอัตราความเร็วที่เหมาะสมพร้อมดัชนีโหลดที่สอดคล้องกัน

ความเร็วของยางสูงสุด

Q
SI Km/h
B 50
C 60
D 65
E 70
F 80
G 90
J 100
K 110
L 120
M 130
N 140
P 150
Q 160
R 170

ดัชนีรับน้ำหนัก

LI kg LI kg LI kg
115 1215 136 2240 157 4125
116 1250 137 2300 158 4250
117 1285 138 2360 159 4375
118 1320 139 2430 160 4500
119 1360 140 2500 161 4625
120 1400 141 2575 162 4750
121 1450 142 2650 163 4875
122 1500 143 2725 164 5000
123 1550 144 2800 165 5150
124 1600 145 2900 166 5300
125 1650 146 3000 167 5450
126 1700 147 3075 168 5600
127 1750 148 3150 169 5800
128 1800 149 3250 170 6000
129 1850 150 3350 171 6150
130 1900 151 3450 172 6300
131 1950 152 3550 173 6500
132 2000 153 3650 174 6700
133 2060 154 3750 175 6900
134 2120 155 3875 176 7100
135 2180 156 4000 177 7300
ขนาดของยาง
  • S: ความกว้างของยาง
  • H: ความสูงแก้มยาง
  • R: รัศมีปกติ
  • R’: รัศมียุบตัวเมื่อบรรทุก
  • E: ระยะห่างระหว่างยางคู่
  • D: เส้นผ่านศูนย์กลางเบ็ดเสร็จ (R x 2)
  • Ø: เส้นผ่านศูนย์กลางกระทะล้อ
กลับสู่ด้านบน

ดัชนีการบรรทุกขึ้นอยู่กับความเร็วในการขับขี่ โครงสร้างยาง และตำแหน่งการใช้งาน (แบบเดี่ยวหรือคู่) TRA ของสหรัฐอเมริกา, KS ของเกาหลี, ETRTO ของยุโรป และ JIS ของญี่ปุ่น ใช้ดัชนีโหลดเดียวกัน

รถบรรทุก และ รถโดยสาร

ตารางด้านล่างแสดงดัชนีต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไขของยางที่ไม่อยู่ในสภาวะที่ร้อน

ความเร็วของยาง (กม./ชม.) ความดันลมยางรับน้ำหนัก
ยางผ้าใบ
ยางเรเดียล
ยางมาตรฐาน
ยาง Low Profile
110-120+10PSI+5PSI-12%-12%
96-110+10PSI+5PSI-4%-4%
81-95
ไม่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มขึ้น 00
66-80
ไม่เพิ่มขึ้น ไม่เพิ่มขึ้น +9% +7%
51-65
ไม่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มขึ้น+16%
+9%
31-50ไม่เพิ่มขึ้น+10PSI+24%+12%
20-30ไม่เพิ่มขึ้น+15PSI+32%+17%

รถบรรทุกขนาดเล็ก

ตารางด้านล่างแสดงดัชนีต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไขของยางที่ไม่อยู่ในสภาวะที่ร้อน

ความเร็วของยาง (กม./ชม.)ความดันลมยางรับน้ำหนัก
110-120+10PSI10%
96-110+10PSI-
81-95ไม่เพิ่มขึ้น-
66-80ไม่เพิ่มขึ้น+9%
51-65ไม่เพิ่มขึ้น+16%
31-50ไม่เพิ่มขึ้น+24%
20-30ไม่เพิ่มขึ้น+32%

สามารถเพิ่มความดันลมยางขึ้นอย่างเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

A. เพิ่มความเร็ว และเพิ่มน้ำหนักบรรทุก

B. ความคุมการขับขี่ได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามความดันลมยางที่เพิ่มขึ้นไม่ควรเกิน20 psi และไม่เกินค่าน้ำหนักสูงสุด และความดันลมยางที่เหมาะสมกับขนาดขอบยาง

ความดันลมยางที่มากเกินไปอาจทำให้ยางระเบิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการขับขี่และเพิ่มต้นทุนการดำเนินงาน!
กลับสู่ด้านบน

ขั้นตอนที่ 1

ก่อนอื่นให้ตรวจสอบยางอย่างละเอียดเพื่อดูว่าสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่

ขั้นตอนที่ 2

หากพบความเสียหายให้ทำเครื่องหมายตำแหน่งทั้งด้านในและด้านนอกด้วยดินสอสี

ขั้นตอนที่ 3

นำสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดความเสียหายออก

ขั้นตอนที่ 4

ตรวจสอบว่ามีความเสียหายที่ซ่อนอยู่ภายในหรือภายนอกด้วยหัวเจาะ

ขั้นตอนที่ 5

กำหนดจุดความเสียหายจากภายในสู่ภายนอกด้วยตัวเจาะ

ขั้นตอนที่ 6

หากความเสียหายมากกว่า 25 ° ใช้วิธีการแยกสองส่วนเพื่อซ่อมแซม หากความเสียหายไม่เกิน 15 มม. ให้ใช้ที่อุดแบบโค้ง

ขั้นตอนที่ 7

จัดวางวัสดุซ่อมแซมให้อยู่กึ่งกลางความเสียหายของยาง แล้วลากเส้นให้เกินวัสดุซ่อมแซมออกมา 25 มม. เพื่อใช้เป็นตำแหน่งในการขัด

ขั้นตอนที่ 8

พ่นพื้นที่นั้นด้วยน้ำทำความสะอาดยาง

ขั้นตอนที่ 9

ใช้ที่ขูด scraper ขูดสิ่งสกปรกออกขณะที่ยางยังเปียกอยู่

ขั้นตอนที่ 10

ใช้หัวขัดกระดาษทราย ขัดด้วยความเร็วต่ำในบริเวณที่ได้ทำลากเส้นตำแหน่งไว้

ขั้นตอนที่ 11

ใช้มีดคัตเตอร์และสว่านความเร็วเจาะตรงบริเวณที่เสียหาย จากภายในสู่ภายนอกด้วยโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาอย่างน้อย 3 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 12

ทำซ้ำขั้นตอนที่ 11 จากภายนอกสู่ภายในสามครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่เสียหายเรียบดีแล้ว

ขั้นตอนที่ 13

ดูดฝุ่นเพื่อกำจัดเศษเหล็กและเศษยาง ทั้งด้านในและด้านนอก

ขั้นตอนที่ 14

ใช้น้ำยาทำความสะอาดยาง และผ้าสะอาดเช็ดยางออกจากบริเวณศูนย์กลาง ทำซ้ำขั้นตอนนี้จนกว่าพื้นที่ที่ได้ทำการขัดไว้สะอาดหมดจด รอ 3-4 นาทีเพื่อให้น้ำยาทำความสะอาดแห้งสนิท

ขั้นตอนที่ 15

ใช้แปรงตัวทากาว (Curing Agent) บริเวณรูที่ได้ขัดไว้ ทั้งด้านในและด้านนอก

ขั้นตอนที่ 16

ทากาว (Curing Agent) บริเวณยางที่ได้ทำการขัดไว้แล้ว โดยทาออกจากจุดศูนย์กลาง ทิ้งไว้ 3 - 5นาทีเพื่อแห้ง

ขั้นตอนที่ 17

กะตำแหน่งที่จะร้อยลวดเหล็กให้อยู่ตรงกลางของยางสตีม

ขั้นตอนที่ 18

ดึงฟิล์มสีน้ำเงินออกจากยางสตีม

ขั้นตอนที่ 19

ดึงฟิล์มสีน้ำเงินออกจากหน้ายาง แล้วจัดวางตำแหน่ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ไปติดกับสิ่งที่ไม่จำเป็นในระหว่างการดึง

ขั้นตอนที่ 20

วางดอกเห็ดลงไป ทากาวส่วนของก้าน และบนขอบสีเทา

ขั้นตอนที่ 21

เจาะตัวดึงสายเหล็กผ่านรูที่ดึงตามลูกศร

ขั้นตอนที่ 22

ดึงเหล็กจากด้านในออกเพื่อให้ดอกเห็ดยึดติดกับยาง

ขั้นตอนที่ 23

หลังจากดึงยางสตีมออกมาจากรู้แล้ว ตรวจสอบว่าลูกศร 5 อยู่ในแนวเดียวกันกับยางรอง ทำการดึงต่อไปจนกระทั่งหน้ายางเข้ากับพื้นผิวยางด้านใน

ขั้นตอนที่ 24

ใช้นิ้วกดหน้ายางให้อยู่ในตำแหน่ง

ขั้นตอนที่ 25

ใช้ลูกกลิ้งบดอัดเพื่อยึดหน้ายางให้แน่น โดยกลิ้งจากกึ่งกลางออกไป

ขั้นตอนที่ 26

ดึงฟิล์มสีน้ำเงิน และทำซ้ำจนกว่าหน้ายางจะแน่นสนิทพอดี

ขั้นตอนที่ 27

ดึงฟิล์มสีขาวออก

ขั้นตอนที่ 28

เคลือบร่องรอบๆ เพื่อความปลอดภัย และขัดเงา

ขั้นตอนที่ 29

ตัดก้านยางเพื่อให้ได้ระดับเท่ากับดอกยาง หากก้านยางอยู่ในร่องให้ใช้เครื่องมือสลักเพื่อให้เรียบเท่ากันไปกับดอกยาง

ขั้นตอนที่ 30

เสร็จสิ้นการซ่อมแซมยาง สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
กลับสู่ด้านบน

ขั้นตอนที่ 1

ควรล้างยางและยางในให้สะอาดก่อน แนะนำให้ทาแป้งหรือผงแกรไฟต์บนพื้นผิวของผนังด้านในยาง ยางใน และยางรอง

ขั้นตอนที่ 2

เมื่อยางในที่พับไว้ เข้าไปในยางรถ โดยหงายก้านวาล์วยางขึ้น คลี่ยางในออกแล้วสอดเข้าไปในยาง ถอดฝาจุ๊บยางในออกออก

ขั้นตอนที่ 3

ตรวจสอบว่ายางรองอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีรอยยับหรือพับที่ขอบยางรอง

ขั้นตอนที่ 4

ทาน้ำมันหล่อลื่นบริเวณขอบยาง ใส่ยางเข้ากับขอบโดยจัดจุ๊บยางให้ตรงกันกับจุ๊บขอบล้อ

ขั้นตอนที่ 5

ใส่วงแหวน (วงแหวนอัด) ลงในร่อง

ขั้นตอนที่ 6

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ใส่ส่วนประกอบทั้งหมดอย่างถูกต้อง ถอดจุ๊บยางในออกแล้วเติมลมยางที่ 350 kPa ใช้ค้อนไม้ตีเบาๆ ตามขอบยางเพื่อให้ยางเข้ากับขอบล้อได้พอดี

ขั้นตอนที่ 7

ตรวจสอบดูว่ามีการใส่ยางอย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ให้ปล่อยลมยางออกและปรับตำแหน่งของยางและขอบล้อใหม่

ขั้นตอนที่ 8

หลังจากใส่ยางแล้วตรวจสอบดูว่าส่วนประกอบแต่ละชิ้นได้รับการใส่อย่างถูกต้อง ก่อนที่จะเติมลมยางให้อยู่ในระดับความดันที่กำหนด และวัดด้วยมาตรวัดความดัน

หมายเหตุ:

  • A. ต้องใส่ยางรถยนต์ให้ตรงตามขอบล้อที่ระบุ ขอบล้อต้องไม่เป็นสนิม ไม่บิดเบี้ยว ต้องเป็นเป็นวงกลม ไม่ถลอก ต้องไม่หลวม หรือไม่มีขอบคม
  • B. ต้องเป็นยางสเปคเดียวกันทั้ง โครงสร้าง ยี่ห้อ ขนาด ชั้นโครงสร้าง รูปแบบเดียวกัน จึงจะสามารถใส่ในยางตำแหน่งเดียวกันได้
  • C. ใส่ยางไดเรคชั่น เพื่อให้ทิศทางการหมุนสอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ
  • D. เมื่อทำการเปลี่ยนยางใหม่แนะนำให้เปลี่ยนยางทั้งหมด หรืออย่างน้อยในต้องเปลี่ยนยางในตำแหน่งเดียวกัน
  • E. ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรพิเศษเพื่อติดตั้งและถอดยางใน
  • F. ขณะเติมลมยางผู้ปฏิบัติงานไม่ควรยืนอยู่ด้านข้างของยาง
กลับสู่ด้านบน

ขั้นตอนที่ 1

เลือกขนาดและรุ่นของกระทะล้อให้ถูกต้องกับยางของคุณ แนะนำให้เปลี่ยนกระทะล้อหากพบว่าชำรุดหรือมีรอยแตก

ขั้นตอนที่ 2

ทำความสะอาดกระทะล้อด้วยผ้าขนหนูสะอาด

ขั้นตอนที่ 3

หมุนฝาที่ก้านวาล์วลมให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้ฝาหลวมและลมรั่วซึม

ขั้นตอนที่ 4

ทาน้ำมันหล่อลื่นชนิดที่ไม่กัดกร่อนให้ทั่วบริเวณขอบล้อ วางยางลงบนกระทะล้อโดยให้ตำแหน่งวาล์วตรงกับช่องใส่วาล์วของกระทะล้อ

ขั้นตอนที่ 5

ตรวจดูว่ายางชำรุดหรือมีรอยแตกหรือไม่ หากมีให้ทำการเปลี่ยนหรือซ่อมโดยทันที แล้วทำความสะอาดยาง (แนะนำให้ใช้น้ำยาเฉพาะสำหรับการทำความสะอาดยาง) โดยการเช็ดเอาความชื้นหรือเศษผงด้านในของยางออกด้วยผ้าสะอาด

ขั้นตอนที่ 6

ทาน้ำยาหล่อลื่นเพื่อปกป้องยางจากการชำรุด ทาให้ทั่วขอบยางและขอบล้อ

ขั้นตอนที่ 7

วางตำแหน่งให้จุดสมดุล (จุดสีขาว) ตรงกับวาล์วลม เอียงยางเพื่อใส่เข้าไปในขอบล้อ และทำการประกอบให้เข้าที่โดยใช้เครื่องยึด

ขั้นตอนที่ 8

สอดหัวกดเข้าไปที่ด้านล่างของขอบล้อแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา อย่าใส่ขอบยางทั้งสองข้างเข้าไปพร้อมกันเป็นอันขาดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ขอบยางชำรุด

ขั้นตอนที่ 9

เติมลมยางตามค่าที่แนะนำ 350 kPa (ประมาณ 50 PSI) แล้วตรวจดูว่ายางถูกใส่เข้าไปอย่างถูกต้องหรือไม่ (เส้นขอบยางพอดีกับเส้นของขอบล้อ) หากไม่ตรงให้เอาลมยางออกแล้วทำการปรับตำแหน่งของยางกับขอบล้อใหม่

ขั้นตอนที่ 10

หลังจากประกอบยางแล้ว ให้ตรวจดูว่าส่วนประกอบต่างๆ ถูกใส่เข้าไปอย่างถูกต้องหรือไม่ แล้วทำการเติมลมยางไปที่แรงดันลมที่เหมาะสม แล้วเช็คด้วยเกจวัดแรงดัน ในขณะที่เติมลมยางไม่ควรยืนอยู่ด้านข้างของยาง
กลับสู่ด้านบน

1. ลักษณะของยาง:

  • • เส้นผ่านศูนย์กลางของยางชนิดไม่มียางนั้นเหมือนกับยางชนิดมียางใน ดังนั้นจำนวนรอบการหมุนจะไม่เปลี่ยนแปลง ก่อนหรือหลังที่เปลี่ยนยาง
  • • เส้นผ่านศูนย์กลางขอบล้อกว้างกว่า 2 นิ้ว ทำให้การกระจายความร้อนได้ดีกว่าและอุณหภูมิต่ำกว่า
  • • ความสามารถในการรับน้ำหนักยังคงเหมือนเดิมโดยมีขอบที่บางกว่า

2. ข้อดีของยางชนิดไม่มียางใน: เบากว่ายางชนิดมียางใน 10%


แก้มยางที่ลดลงทำให้การควบคุม และการบังคับแม่นยำและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบที่น้อยลง ลดแรงเสียดทานและลดแรงต้านการหมุนเพื่อประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ดี

การกระจายความร้อนที่เหนือกว่า ทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าเพิ่มอายุการใช้งานยางที่ยาวนานขึ้น

ผิวสัมผัสที่ดีขึ้น พร้อมการสึกหรอเรียบสม่ำเสมอ ช่วยยืดอายุยาง

ส่วนประกอบน้อยลงและน้ำหนักเบาลง ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

3. ส่วนประกอบพื้นฐานของยางชนิดไม่มียางใน


ยางชนิดไม่มียางใน (ส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน)

ตัวอย่างเช่น 12R22.5 18PR GAL817:


A: โครงยาง = 64.21 กก
B: กระทะล้อ และวาล์ว = 47.55 กก.
น้ำหนักรวม: 11.76 กก.
กลับสู่ด้านบน
ยางชนิดที่มียางใน ยางชนิดที่ไม่มียางใน
ยางผ้าใบ ยางเรเดียล ซีรี่ย์ 90 ซีรี่ย์ 80 ซีรี่ย์ 75 ซีรี่ย์ 70 ซีรี่ย์ 65
7.00-16 7.00R16 8R17.5 / 205/75R17.5 / /
7.50-16 7.50R16 8.5R17.5 / 215/75R17.5 / /
8.25-16 8.25R16 9.5R17.5 / 235/75R17.5 245/70R19.5 /
7.50-20 7.50R20 8R22.5 / / / /
8.25-20 8.25R20 9R22.5 / / / /
9.00-20 9.00R20 10R22.5 / / 255/70R22.5 /
10.00-20 10.00R20 11R22.5 275/80R22.5 295/75R22.5 275/70R22.5 /
11.00-20 11.00R20 12R22.5 295/80R22.5 / / 385/65R22.5
12.00-20 12.00R20 13R22.5 315/80R22.5 / 315/70R22.5 425/65R22.5
ข้อจำกัด: ตารางข้อมูลแนะนำสำหรับการเปลี่ยนยางนี้ ใช้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น Giti จะไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดใดๆ เมื่อเปลี่ยนยางโปรดปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกับตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ของคุณ และคำนึงถึงข้อมูลจำเพาะของยาง การรับน้ำหนัก การจัดการ และปัจจัยอื่น ๆ

© 2017 Giti Tire Pte. Ltd. สงวนลิขสิทธิ์ | ข้อตกลงในการใช้งาน | นโยบายความเป็นส่วนตัว | แผนผังเว็บไซต์